การพัฒนาการผลิต กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร BCG MODEL (แพะ) จังหวัดอ่างทอง


จังหวัดอ่างทอง หลายคนจะนึกถึงภาพเกษตรกรรม การปลูกข้าว พืชผักและผลไม้ต่างๆ ซึ่งน้อยคนที่จะได้รู้ว่า ยังมีวิถีการเกษตรที่สำคัญอีกอย่างในด้านปศุสัตว์นั้น คือ การเลี้ยงแพะเนื้อ

 


 

ข้อมูลปี พ.ศ.2567 จังหวัดอ่างทองมีเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ จำนวน 361 ราย มีจำนวนแพะเนื้อทั้งสิ้น 5,952 ตัว สามารถส่งออกแพะเนื้อสร้างรายได้มากกว่า 19.60 ล้านบาทต่อปี โดยมีเกษตรกรผ่านการรับรองคุณภาพฟาร์ม มาตรฐาน GFM จำนวน 25 ราย และ การรับรองฟาร์มปลอดโรค จำนวน 22 ราย





เกษตรกรมีความเข้มแข็ง สินค้ามีมูลค่าสูง แพะเนื้อ จึงเป็นวาระสำคัญหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง ในการขับเคลื่อนสู่ BCG Model และการผลักดันกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ สู่มาตรฐานฟาร์มที่ดีมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับสามารถยกระดับเข้าสู่ตลาดสากล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเน้นการบริหารงานแบบครอบครัวเชิงวิชาการ ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ทั้งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การเลี้ยงแพะ ทั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากภาครัฐ/เอกชนของจังหวัดอ่างทอง ที่ให้การสนับสนุนเพื่อให้ได้คุณภาพของแพะเนื้อ ที่เท่าเทียมกัน ถ่ายทอดภูมิปัญญาความรู้ใหม่ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรได้ ทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรคนเลี้ยงแพะเนื้อแห่งนี้ดีขึ้น




สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยในการพัฒนาอาชีพคนเลี้ยงแพะ การดูแลแพะ ทั้งเรื่องของอาหาร ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การเพาะปลูกหญ้าแพงโกล่า ไว้เป็นอาหารของแพะ , การทำอาหาร TMR หรือ อาหารหมักของแพะที่มาจากธรรมชาติ 100 % 





และ การเจาะเลือดตรวจหาโรคบรูเซลโลซีส หรือ โรคแท้งติดต่อ ของแพะทุกๆ 6 เดือน และร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการจัดทำเป็น Smart Farmer โดยการใช้เทคโนโลยีมาควบคุม ตรวจคุณภาพของแพะให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น




 นำไปสู่แพะเนื้อ ที่มีคุณภาพที่พร้อมจะส่งออกไปยังต่างประเทศ และกลุ่มประเทศที่มีความต้องการ รวมถึงการแปรรูปเนื้อแพะ อย่างเช่น เนื้อแพะแดดเดียว , เนื้อแพะคลุกฝุ่น , เนื้อแพะสวรรค์ และผลิตอื่นๆอีกมากมายที่ทำมาจากเนื้อแพะ ออกมาจำหน่ายให้กับ ผู้ที่สนใจ






อำนวยการผลิตโดย
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอ่างทอง

ความคิดเห็น