อ่างทอง ถิ่นฐานทำกลอง ... หมู่บ้านกลองเอกราช ต.เอกราช อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ที่ทำให้นักท่องเที่ยวทราบเกี่ยวกับเรื่องราวของกลองวิธีการทำกลอง ตลอดจนพิธีกรรมและประเพณีต่างๆ ของชาวบ้านได้อย่างใกล้ชิด
ก่อนอื่นผมว่า เรามาทำความรู้จักกับ
หมู่บ้านกลองตำบลเอกราช กันก่อนดีกว่านะครับ ... หมู่บ้านแห่งนี้ เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทำกลองที่มีคุณภาพ ทั้งกลองสั้นและกลองยาว เช่น
ตะโพน กลองทัด กลองโทน กลองยาว รำมะนา กลองรำวง กลองเพล และกลองจิ๋ว เป็นของเล่นเด็กหรือของที่ระลึก แต่ที่ทำกันอย่างขึ้นชื่อจนเป็นที่รู้จักก็คือ
กลองยาว จนกระทั่งกลองขนาดเล็กจิ๋วสำหรับเป็นของที่ระลึก ที่จะเห็นถึงฝีมือการทำกลองที่ได้คุณภาพ ประณีต สวยงาม และยังสามารถซื้อกลับบ้านได้อีกด้วย
กลองของที่นี่ทำจาก
ไม้ฉำฉา หรือ
ไม้ก้ามปู เพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่ สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายและอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญ คือ
หนังวัว ที่ต้องเตรียมไว้สำหรับขึงทำหน้ากลอง การมาเยี่ยมชมหมู่บ้านทำกลองแห่งนี้ นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ สามารถเข้าชมกรรมวิธีการทำกลอง ตั้งแต่เริ่มกลึงท่อนไม้ ไปจนถึงขั้นตอนการขึ้นกลอง การฝังหมุด
หมู่บ้านทำกลองเอกราช แห่งนี้ มีการสืบทอดการทำกลอง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษจนเป็นมรดกตกทอดจนมาถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน เป็นการสั่งสมประสบการณ์ตลอดจนมีการพัฒนา และปรับปรุงแก้ไข จนเป็นแหล่งผลิตกลองที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของนักดนตรีไทยระดับมืออาชีพ ทั้งเป็นการยอมรับของชาวต่างชาติ ดังนั้นชาวตำบลเอกราชจึงได้จัดทำพิธีไหว้ครูกลอง เพื่อถวายแด่
พระเพชรฉลูกัณฑ์ ซึ่งเป็นเทพแห่งความสำเร็จ และการจัดแสดงแหล่งทำกลองนานาชาติที่มีคุณภาพมากที่สุดในประเทศไทย ณ หมู่บ้านกลองเอกราช อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
ซึ่งในครั้งนี้ ผมได้มาตามหาบ้านที่ทำในเรื่องของ
กลองนานาชาติ โดยเฉพาะ ที่มีประสบการณ์ในการทำกลองนานาชาติ มานานกว่า 20 ปี และเป็นที่รู้จักคือบ้านของ
นายชิด เนี่ยมพันธ์ อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ต.เอกราช อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
|
นายชิด เนี่ยมพันธ์ (ผู้ทำกลองนานาชาติ)
|
ผู้ใหญ่ชิด เล่าให้ผมฟังว่า แรกเริ่มเดิมทีทางบ้านก็ได้สืบสานภูมิปัญหาด้านการทำกลองมาเป็นเวลาช้านาน จนได้มีโอกาสได้ไปร่วมแสดงผลงานกลอง ที่กรุงเทพมหานคร ก็มีผู้ที่สนใจเข้ามาพูดคุย และเริ่มมาการติดต่อเรื่องการทำกลอง ของต่างประเทศ ซึ่งตอนแรกผู้ใหญ่ชิด ก็ไม่ค่อยมั่นว่าจะสามารถทำกลองของต่างประเทศได้มีประสิทธิภาพเหมือนต้นฉบับหรือไม่ แต่สุดท้ายก็เป็นการพิสูจน์ภูมิปัญญาด้านการทำกลองที่มีอยู่ในสายเลือดของชาวเอกราช จึงเริ่มรับงานกลองจากประเทศมาศึกษาและทำออกมาให้ได้เป็นจริง
คำว่ากลองนานาชาติ ที่ปัจจุบันผู้ใหญ่ชิด ได้ทำอยู่นั้น จะประกอบด้วย กลองไทโกะ (กลองของประเทศญี่ปุ่น) , กลองจังโกชุม (กลองของประเทศเกาหลี) , กลองเซมเบ้ (กลองของประเทศแอฟริกา) เป็นต้น ซึ่งทางผู้ใหญ่ชิด เล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า ขั้นตอนในการขึ้นกลองแต่ละอย่างอาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียด แต่สิ่งสำคัญของการทำกลองขึ้นมาแต่ละใบคือ การเอาใจใส่ในรายละเอียด , การเลือกใช้ไม้มาเป็นโครงของตัวของกลอง , การเลือกใช้หนังสัตว์ที่จะทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน หากเราไม่ได้ศึกษากันเป็นอย่างนี้ เราก็คงไม่สามารถบอกได้ว่า หมู่บ้านกลองเอกราชแห่งนี้ คือหมู่บ้านแห่งการทำกลองทั้งกลองของประเทศไทย ที่ใช้ในทุกๆภาค และเป็นหมู่บ้านแห่งการทำกลองนานาชาติ ที่สามารถส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในนักดนตรี
|
กลองเซมเบ้ (กลองของประเทศแอฟริกา)
|
|
กลองไทโกะ (กลองของประเทศญี่ปุ่น) |
|
กลองจังโกชุม (กลองของประเทศเกาหลี)
|
นอกจากกลองนานาชาติ ที่เป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจในฐานะของชาวบ้านเอกราชแห่งนี้ กลองต่างๆที่ใช้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ก็ล้วนมาแต่ หมู่บ้านกลองเอกราชแห่งนี้ทั้งสิ้น เพราะที่แห่งนี้ คือแหล่งผลิตกลองที่มีคุณภาพ ผลิตตามหลักภูมิปัญญามาแต่โบราณ และเป็นแหล่งสืบสานศิลปะแห่งการทำกลองอย่างแท้จริง
ดังนั้น หากท่านอยากมาเรียนรู้วิถีแห่งคนทำกลอง อีกสถานที่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร ขับรถมาเพียง 1 ชั่วโมงกว่าๆ ท่านก็จะสามารถมาศึกษา เรียนรู้ จากครูภูมิปัญญาของการทำกลอง ที่ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน ณ
หมู่บ้านกลองเอกราช ต.เอกราช อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง กันได้ตลอดทุกวัน
ตะโพนมีกี่ขนาดกี่ราคาครับ
ตอบลบสามารถเข้าไปสอบถามในFB : หมู่บ้านทำกลอง ตำบลเอกราช อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ได้เลยค่ะ
ลบ